SHARES:
การแข่งขันในยุคปัจจุบัน ธุรกิจมากมายต้องทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าและ Insight ใหม่ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์และปรับปรุงให้เข้ากับธุรกิจ ยิ่งเรามีข้อมูลมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยให้เราวิเคราะห์การตลาดได้ง่ายมากขึ้นเท่านั้น


ซึ่งการเก็บรวบรวมข้อมูล Data เหล่านี้สามารถนำไปใช้ในการทำกลยุทธ์ “Data Driven Marketing” ได้

(Data Driven Marketing คืออะไร อ่านบทความได้ที่ https://www.insightera.co.th/Data-Driven-Marketing)

แต่ปัญหาที่ธุรกิจพบตามมาจากการเก็บข้อมูลเป็นจำนวนมากนั้น คือข้อมูลปริมาณมากกระจัดกระจายไม่ถูกจัดลำดับเป็นสัดส่วนชัดเจน

วันนี้ทาง InsightERA จะพามารู้จักกับการเก็บข้อมูลทั้งสามแบบที่ช่วยวิเคราะห์ธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีอะไรบ้างไปดูกันเลย
1.First-Party Data

มาเริ่มกันเลยกับ Data ชนิดแรกอย่าง First-Party Data เป็นข้อมูลที่แบรนด์ได้รวบรวมเองจากลูกค้าผ่านช่องทางต่างๆโดยตรง ซึ่งในการเก็บข้อมูลจะมาจากการเก็บ Cookie ที่ผู้ใช้งานได้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์และได้รับการอนุญาตให้เก็บข้อมูล, ประวัติการซื้อของลูกค้า, การบันทึกการสนทนาผ่านช่องทางออนไลน์ รวมถึง feedback หลังการขาย เป็นต้น

ข้อมูลจากการเก็บ First-Party Data อาจรวมถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย เช่น

  • CRM Database
  • ข้อมูลการสำรวจ
  • ความสนใจของลูกค้า
  • พฤติกรรมการใช้เว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดีย

เนื่องจาก First-Party Data เป็นข้อมูลที่รวบรวมโดยตรงจากลูกค้า ทำให้ข้อมูลที่ได้รับมามีความน่าเชื่อถือ และยังสามารถนำมาต่อยอดในการทำ Customer Segmentation ที่ตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ได้ รวมถึงการทำ Retargeting เพื่อให้ลูกค้าเก่ากลับมาซื้อใหม่อีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของการเก็บข้อมูลอย่าง First-Party Data คือ ข้อมูลที่ได้รับมานั้นอาจไม่ได้อัพเดทตามเทรนด์ จึงต้องคอยสำรวจอยู่บ่อยครั้ง อีกทั้งยังมีข้อจำกัดในด้านของการเก็บข้อมูลซึ่งต้องใช้เวลาในการเก็บสะสม ไม่สามารถขยายการเก็บข้อมูลได้ทันที รวมถึงข้อมูลอาจขาดความหลากหลายเนื่องจากข้อมูลที่ได้รับมา มาจากการสั่งซื้อหรือเยี่ยมชมของลูกค้าภายในแบรนด์เท่านั้น

รู้หรือไม่!! จากข้อมูลสถิติของ Claravine พบว่า 70% ของโฆษณา ได้มีการวางแผนในการใช้ First-Party Data ไปปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจมากขึ้น
2. Second-Party Data

ไปต่อกับการเก็บ Data ประเภทที่สองอย่าง Second-Party Data ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลที่คล้ายๆกับประเภทแรก แต่มีความแตกต่างกันตรงที่ แบรนด์ไม่ได้เป็นผู้เก็บข้อมูลเองแต่เป็นข้อมูลจากผู้อื่น กล่าวง่ายๆ คือ เป็น First-Party Data ของผู้อื่นนั่นเอง ซึ่งในการเก็บข้อมูลประเภทนี้อาจเกิดจากการทำข้อตกลงกันระหว่างธุรกิจ ว่าจะแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างไร หรือใช้อะไรตอบแทน

ตัวอย่างของการเก็บข้อมูลแบบ Second-Party Data มีดังนี้

  • ข้อมูลการรวบรวมรีวิว
  • ข้อมูลการโพสต์บนโลกออนไลน์
  • ข้อมูลเกี่ยวกับ Trends และ Insight

ข้อดีของการเก็บข้อมูลประเภท Second-Party Data คือ สามารถใช้ในการกำหนดเป้าหมายและการทำฐานข้อมูลให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ไม่ต้องรอเก็บข้อมูลแบบ First-Party Data อีกทั้งข้อมูลที่ได้รับมาจะมีความหลายหลายมากขึ้น ทำให้แบรนด์รู้ถึง Insight ใหม่ๆ ของแบรนด์อื่นๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการตลาดของแบรนด์ในอนาคต

นส่วนของข้อจำกัดในการเก็บข้อมูลประเภทนี้ คือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอาจมีค่าใช้จ่ายในการแลกเปลี่ยนที่สูง อีกทั้งข้อมูลที่ได้รับมานั้นแบรนด์ไม่สามารถควบคุมคุณภาพได้แบบการเก็บข้อมูล First-Party Data เนื่องจากไม่ได้เก็บข้อมูลด้วยตนเอง

3. Third-Party Data

มาถึงการเก็บรวมรวมข้อมูลแบบสุดท้าย คือ Third-Party Data ซึ่งการเก็บข้อมูลชนิดนี้จะมีความแตกต่างจากอีก 2 รูปแบบ เพราะเป็นการรวบรวมข้อมูลจาก Data Aggregators ซึ่งเป็นกลุ่มหรือองค์กรภายนอกที่รวบรวมข้อมูลมาขายต่อให้เรา โดยการเก็บข้อมูลนั้นอาจมาจากการสำรวจบนโซเชียลมีเดีย อย่างเช่น Ads Network เป็นต้น

ข้อมูลจากการเก็บ Third-Party Data อาจรวมถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย เช่น

  • ข้อมูลทั่วไปบนโลกออนไลน์
  • ข้อมูลการซื้อขายยุคดิจิทัล
  • โฆษณา
  • ข้อมูลด้านการเงิน

ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประเภทนี้ จะช่วยให้ข้อมูลมีความหลายหลายมากที่สุด เนื่องจากมีการเก็บมาเป็นเวลานานและมีปริมาณมาก นอกจากนี้ยังมีราคาที่ถูกกว่า Second-Party Data เนื่องจากเป็นการเก็บข้อมูลการตลาดและเทรนด์ทั่วไป ไม่ได้เฉพาะเจาะจง ซึ่งบริษัทสามารถนำไปวิเคราะห์ Insight ใหม่ๆได้

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ได้รับมาอาจมีคุณมีคุณภาพและความแม่นยำน้อยกว่า First-Party Data และ Second-Party Data เนื่องจากเป็นข้อมูลที่เก็บมานาน ไม่มีการอัปเดต บางกรณีไม่สามารถระบุได้ว่าข้อมูลมาจากแหล่งไหน อีกทั้งคู่แข่งก็สามารถมีข้อมูลชุดเดียวกับเราได้เช่นกัน 

จะเห็นได้ว่าการเก็บ Data ทั้งสามรูปแบบ มีความแตกต่างกันไปทั้งในเรื่องของคุณภาพและปริมาณ


สำหรับธุรกิจที่กำลังตัดสินใจในการเลือกใช้ข้อมูล สามารถนำความรู้เหล่านี้เป็นตัวช่วยประกอบการตัดสินใจลงทุน เพื่อเลือกแผนการทำกลยุทธ์การตลาดได้อย่างเหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุดกับแบรนด์ค่ะ

จากข้างต้นจะเห็นได้ว่า Data แต่ละรูปแบบมีความแตกต่างกันไป ทั้งในเรื่องของคุณภาพและปริมาณ ดังนั้นก่อนการนำไปใช้งานวางแผนกลยุทธ์การตลาด หรือทำแคมเปญสำหรับธุรกิจ จึงจำเป็นต้องมีการใช้ข้อมูลอย่างหลากหลาย และเลือกใช้ Data อย่างเหมาะสมในการประกอบการตัดสินใจ เพื่อให้ตอบโจทย์ตรงเป้าหมาย และเกิดประโยชน์สูงสุดกับธุรกิจได้นั้นเอง

สำหรับธุรกิจที่ต้องการเครื่องมือในการทำการตลาด DOM – Social Listening & Social Analytics Tool หนึ่งในเครื่องมือ จาก InsightEra ที่สามารถตอบโจทย์ทุกธุรกิจ ช่วยตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูลไปจนถึงการวิเคราะห์ข้อมูลได้ละเอียดและตรงจุดมากยิ่งขึ้นนะคะ

ทำความรู้จัก DOM : Social Listening & Social Analytics Tool จาก InsightEra
📌 https://www.insightera.co.th/dom/

 

✓ The right insight at your fingertips.

—————

“InsightEra” ผู้ให้บริการ MarTech แบบครบวงจร

สนใจหรือสอบถามเพิ่มเติม
https://www.insightera.co.th/contact-us/
Email : [email protected]