SHARES:
เข้าสู่เดือนมิถุนายน อย่างเป็นทางการ เดือนแห่งความภูมิใจของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIAN+) 

หรือที่เรียกกันว่า “Pride Month” งานที่เต็มไปด้วยสีสันความสดใสจากขบวนพาเหรดสีรุ้ง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีการจัดขึ้นทั่วโลกตลอดเดือนมิถุนายน

ซึ่งในปี 2023 ภายหลังที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคก้าวไกล กับนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีการร่วมกิจกรรมแคมเปญ “Road To Bangkok World Pride 2028” เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความภาคภูมิใจ (Pride Month) ทำให้ผู้คนมากมายต่างให้ความสนใจ ในเทศกาลนี้มากขึ้น 

อีกประเด็นสำคัญในเดือน Pride Month คงหนีไม่พ้นกระแสจากงานไพรด์พาเหรด ‘ครั้งแรก’ ของกรุงเทพฯเมื่อปีก่อน “Bangkok Pride 2022” เพื่อสนับสนุนความหลากหลายทางเพศ และเฉลิมฉลองเดือน Pride Month จนมาถึงปีนี้ที่มีการจัดไพรด์พาเหรดอีกครั้ง! ในวันที่ 4 มิถุนายนนี้ พร้อมกิจกรรมมากมายตลอดเส้นทาง ซึ่งไม่เพียงแค่ชาว LGBTQ เท่านั้น แต่คนทั่วไปเริ่มหันมาให้ความสนใจกับการขับเคลื่อนสังคมในครั้งนี้มากขึ้น

ส่องสรุปสถิติจาก DOM ตลอดเดือน “Pride Month” ปีที่ผ่านมา สิทธิที่ชาว “LGBTQIA+” ควรได้รับและถูกพูดถึงมากที่สุดบนโลกออนไลน์คืออะไร? https://www.insightera.co.th/dom-pride-month-lgbtqia/

นอกจากนี้ยังมีผลสำรวจข้อมูลปี 2022 พบว่ามีการค้นหาคำที่เกี่ยวกับ Pride Month มากถึง 2.8 ล้านการค้นหา (Source : Freepik) โดยการค้นหาที่ได้รับคำนิยมมากที่สุด คือ
Rainbow (สีรุ้ง) – 319,270 การค้นหา
Pride (ความภาคภูมิใจ) – 62,127 การค้นหา
Diversity (ความหลากหลาย) – 51,541 การค้นหา
Lesbian (เลสเบี้ยน) – 48,227 การค้นหา

จุดเริ่มต้น Pride Month คืออะไร?
เบื้องหลังความสนุกสนาน ของ Pride Month ไม่ได้สวยงามอย่างที่ใครๆคิด ถ้ามองย้อนกลับไปในปี 1960 ยุคที่สังคมยังไม่เปิดรับคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ส่งผลให้เกิดเกิดการเลือกปฏิบัติทั้งเรื่องของความรุนแรง หรือการไม่ได้รับการยอมรับจากคนรอบตัว คนเหล่านั้นจึงจำเป็นต้องปกปิดตัวตนไม่ให้มีใครรับรู้

ในเมื่อไม่สามารถเปิดตัวตนให้ใครรับรู้ได้ จึงได้มีการรวมตัวกันเพื่อแสดงความเป็นตัวเองผ่าน “บาร์ลับ” ที่ชื่อว่า “Stonewall Inn” จนกระทั่งวันที่ 28 มิถุนายน 1969 เจ้าหน้าที่ตำรวจบุกจับกุมจนเกิดการปะทะอย่างรุนแรง นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ เมื่อประชาชนเกิดความไม่พอใจในการกระทำครั้งนั้น จึงเกิดการรวมตัวเพื่อเรียกร้องสิทธิ ความเท่าเทียม ต่อสู่เพื่อเสรีภาพของตัวเอง 

จากเหตุการณ์ครั้งนั้น นำมาสู่การเกิดขบวนการเรียกร้องสิทธิสำหรับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ในวันที่ 28 มิถุนายน 1970 เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์จลาจลสโตนวอลล์ (Stonewall Riots) นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาทำให้เดือนมิถุนายน กลายเป็นเดือนแห่งความเฉลิมฉลองเพื่อความเท่าเทียมเทียมของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ “Pride Month” นั่นเอง

สำหรับความหมายของ “LGBTQIAN+” ย่อมาจากคำเรียกเพศวิถีต่างๆ ที่มีความหลากหลาย ซึ่งย่อมากจาก
Lesbian – ผู้หญิงที่ชอบในบุคคลที่เป็นผู้หญิงด้วยกัน
Gay – บุคคลที่ชื่นชอบในบุคคลที่มีรสนิยมทางเพศตรงกับตนเอง แต่ในบริบทของสังคมไทยจะเข้าใจว่าเกย์ คือ เพศชายที่ชื่นชอบในบุคคลที่เป็นเพศชายด้วยกัน
Bisexual – คนที่ชื่นชอบได้ทั้งเพศเดียวกันและเพศตรงข้าม
Transgender – บุคคลข้ามเพศ และแตกต่างไปจากเพศกำเนิดของตัวเอง
Queer – บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ไม่มีกรอบในการเข้ามากำหนดเกี่ยวกับเรื่องเพศ
Intersex – บุคคลที่มีสรีระทางเพศลักษณะกำกวม ไม่ตรงกับสรีระชายหรือหญิง หรืออาจจะมีลักษณะทั้งชายและหญิง
Asexual – บุคคลที่ไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องเพศ หรือไม่รู้สึกโรแมนติก
Non-Binary – คำศัพท์ที่ใช้เพื่อทำลายการกำหนกบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศว่าจะต้องมีแนวปฏิบัติที่ให้สอดคล้องกับเพศหญิง หรือเพศชายเท่านั้น 

“ธงสีรุ้ง” สะท้อนความหลากหลายทางเพศ

“กิลเบิร์ต เบเกอร์” (Gilbert Baker) ศิลปินชาวอเมริกันและนักขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนของเกย์ในปี 1978 เลือกใช้สีรุ้งเพราะต้องการสะท้อนความหลากหลายของชุมชนคนหลากหลายทางเพศ
ธงสีรุ้งจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่ม LGBTQIAN+ จนถึงปัจจุบัน โดยแต่ละสีมีความหมายดังนี้
สีแดง – ชีวิต
สีส้ม – การเยียวยา
สีเหลือง – แสงอาทิตย์ที่ส่องสว่าง
สีเขียว – ธรรมชาติ
สีคราม – ศิลปะ ความผสมกลมกลืน
สีม่วง – จิตวิญญาณอันแน่วแน่ 

ในปัจจุบันสำหรับประเทศไทย กลุ่มความหลากหลายทางเพศได้รับการยอมรับจากสังคมที่มากขึ้น ซึ่งวันนี้ก็ถือเป็นก้าวแรกสู่ Pride Month 2023 หลายคนในโลกโซเชียลออกมาเคลื่อนไหว พร้อมติดแฮชแท็ก #Pride2023 เพื่อสนับสนุนความหลากหลายอย่างเท่าเทียมอีกด้วย
ถึงแม้ในหลายประเทศจะสามารถแต่งงานกับเพศเดียวกันได้ แต่กลุ่มความหลากหลายทางเพศก็ยังคงไม่ได้รับการยอมรับมากนักในหลายประเทศ 

อินไซท์เอรา จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมเฉลิมฉลอง Pride Month ด้วยการสนับสนุนและเคารพอัตลักษณ์ทางเพศของทุกคน ซึ่งทุกคนมีสิทธิในการได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน

 

✓ The right insight at your fingertips.

—————

“InsightEra” ผู้ให้บริการ MarTech แบบครบวงจร

สนใจหรือสอบถามเพิ่มเติม
https://www.insightera.co.th/contact-us/
Email : [email protected]