SHARES:

จากสถิติตลอดปีที่ผ่านมา คนไทยเลือกทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือพร้อมเพย์ เป็นจำนวนมาก จนติดอันดับต้นๆของโลกที่เป็นสังคมไร้เงินสด โดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านมา Mobile Banking มีการใช้งานมากขึ้น เพราะสามารถทำธุรกรรมการเงินได้อย่างรวดเร็ว และสะดวกสบาย

ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับการทำธุรกรรมการชำระเงินผ่านบริการ Mobile Banking จากสถิติล่าสุดในเดือนตุลาคม 2565 มีจำนวนบัญชีลูกค้าที่ใช้บริการเกือบ 100 ล้านบัญชี และมีปริมาณมากกว่า 2 พันล้านรายการ ซึ่งมูลค่าการทำรายการรวมทั้งหมดมากกว่า 5 พันล้านบาทเลยทีเดียว
นี่คือข้อยืนยันว่ายุคสังคมไร้เงินสดนี้ มีคนจำนวนมากที่นิยมการทำธุรกรรมผ่านแอพธนาคาร ซึ่งอาจส่งผลให้ Application ธนาคาร เกิดการขัดข้องเนื่องจากมีผู้ใช้บริการพร้อมกันเป็นจำนวนมากนั่นเอง โดยเฉพาะช่วงที่ผู้คนนิยมทำธุรกรรมเป็นจำนวนมากอย่างช่วงสิ้นเดือน จนถึงต้นเดือน

จากผลสำรวจล่าสุด โดยการเก็บข้อมูลผ่านเครื่องมือ DOM – Social Listening & Social Analytics Tool (https://www.insightera.co.th/dom/

👉 โดยเริ่มเก็บสถิติตลอดทั้งปี 2565 ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2565
ทั้งนี้เครื่องมือ DOM ได้รวบรวมข้อมูลที่ถูกพูดถึง โดยวัดจาก Keyword ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ ‘การล่มของแอพธนาคารนั้นๆ’ และส่งผลการพูดถึงใน’เชิงลบ’บนโลกออนไลน์เป็นจำนวนมากในระยะเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง

โดยรวบรวมจากธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ที่มีความสำคัญต่อระบบในประเทศ ในกลุ่ม D-SIBs จำนวน 6 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย , ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารทีเอ็มบีธนชาต

ซึ่งข้อมูลสถิติจำนวนครั้งในการล่มของระบบธนาคาร ยึดตามวันที่มีมีกระแสการถูกพูดถึงเป็นจำนวนมาก จากการตรวจสอบเสียงส่วนใหญ่พบว่ามีการพูดถึง การขัดข้องเกี่ยวกับระบบ Application ของธนาคาร ทำให้ผู้ใช้งานไม่สามารถเข้าทำรายการธุรกรรมการเงินใน Application ของธนาคารได้

จากสถิตแอพธนาคารล่ม มีการพูดถึงเหตุการณ์นี้มากถึง 1,737,600 Engagement โดยแบ่งออกเป็น
ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ระบบล่ม 26 ครั้ง คนมีส่วนร่วมกว่า 260,144 Engagement
ธนาคารกรุงไทย (KTB) ระบบล่ม 13 ครั้ง คนมีส่วนร่วมกว่า 625,094 Engagement
ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต (TTB) ระบบล่ม 11 ครั้ง คนมีส่วนร่วมกว่า 424,723 Engagement
ธนาคารกสิกรไทย (KBank) ระบบล่ม 8 ครั้ง และมีปัญหาการใช้งานแอพ 2 ครั้ง คนมีส่วนร่วมกว่า 48,160 Engagement 
ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ระบบล่ม 5 ครั้ง คนมีส่วนร่วมกว่า 371,330 Engagement
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ระบบล่ม 2 ครั้ง คนมีส่วนร่วมกว่า 8,149 Engagement

จะสังเกตได้ว่า ธนาคาร SCB และ KBANK แม้เกิดปัญหาระบบล่มจำนวนครั้งใกล้เคียงกับธนาคารอื่นๆ แต่การพูดถึงต่อเหตุการณ์ ‘ระบบล่ม’ บนโลกโซเชียล รวมถึงการมีส่วนร่วมกลับมีสัดส่วนน้อยกว่าธนาคารอื่นๆ โดยเฉพาะธนาคาร KBANK ที่ระบบล่มจำนวนครั้งใกล้เคียงกับธนาคาร KTB และ TTB แต่กลับมีความคิดเห็นเชิงลบที่พูดถึงเหตุการณ์นี้ ‘น้อยกว่า’ ธนาคารอื่นๆหลายเท่าตัว
จากการวิเคราะห์ข้อมูลในระบบ คาดว่าเป็นไปได้ที่ปัญหาการล่มเกิดในระยะเวลาสั้นๆ และทางธนาคารสามารถเข้า Take Action การแก้ปัญหาระบบได้อย่างรวดเร็ว จนไม่ทันส่งผลกระทบเป็นวงกว้างบนโลกออนไลน์

จากการวิเคราะห์ถึงโพสต์ที่ได้รับความสนใจและความคิดเห็นจากกลุ่มลูกค้าบน Social Media พบว่า จากต้นตอของปัญหา ‘แอพล่ม’ ที่เป็นประเด็นหลัก แต่กลับส่งผลกระทบต่อการพูดถึงบริการส่วนอื่นของแบรนด์นั้นๆในเชิงลบอีกด้วย เช่น Call Center ที่ไม่รับสาย หรือรับสายช้ามาก หรือไม่ได้รับการให้บริการที่น่าประทับใจจากหน้าสาขา ไปจนถึงข้อความที่มีการกล่าวอ้างเชิงลบอย่างรุนแรงต่อภาพลักษณ์ของธนาคารนั้นๆ เช่น นำเงินของลูกค้าไปหมุนหรือทำอย่างอื่นอยู่หรือไม่? ไปจนถึงการขู่จะฟ้องร้องธนาคารเรียกค่าเสียหายจากระบบล่ม

ซึ่งจากข้อความที่กล่าวมา แม้อาจไม่มีต้นเหตุของความจริง แต่ด้วยความหงุดหงิดในการเข้าใช้งานระบบไม่ได้ ณ เวลานั้น จึงส่งผลให้เกิดความคิดเห็นเชิงลบที่อาจไม่เป็นความจริง และสร้างความเข้าใจผิดต่อผู้ให้บริการท่านอื่น ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของแบรนด์

จากเหตุการณ์นี้เรามาดูตัวอย่างโพสต์ที่คนมีส่วนร่วมมากที่สุด ตลอดปี 2022 เกี่ยวกับเหตุการณ์ ‘แอพธนาคารล่ม’ กันเลยค่ะ


อันดับที่ #1

จากช่องทาง Facebook – อนุวัต จัดให้ คนมีส่วนร่วมกว่า 96,554 Engagement


อันดับที่ #2
จากช่องทาง Twitter – @jaomaecaption คนมีส่วนร่วมกว่า 72,659 Engagement


อันดับที่ #3
จากช่องทาง Facebook – หมอแล็บแพนด้า คนมีส่วนร่วมกว่า 62,541 Engagement


จากการรวบรวมข้อมูลผ่านเครื่องมือ DOM – Social Listening & Social Analytics Tool ในส่วนของ Mention และ Engagement การพูดถึงปัญหาของ ‘ระบบธนาคารล่ม’ บนช่องทางออนไลน์
(ข้อมูลดังกล่าวเป็นสถิติจาก Social Media รวบรวมจากหลากหลายช่องทาง ได้แก่ Facebook, Instagram, Twitter, Youtube, Pantip, Blockdit และ Website) 
สามารถแบ่งข้อมูลที่วิเคราะห์ออกมาแบบละเอียดตามวันที่ได้ดังนี้ค่ะ

ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) “ระบบล่ม ทั้งหมด 26 ครั้ง” คนมีส่วนร่วมกว่า 260,144 Engagement
โดย #ที่ได้รับ Engagement สูงที่สุดคือ #scbล่ม (108,266 Engagement)

บางส่วนของโพสต์จาก #scbล่ม ที่คนพูดถึง จากช่องทาง Facebook

เดือนมกราคม 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 4 ครั้ง (วันที่ 1/10-11/21-24/31 ม.ค. 65)
เดือนกุมภาพันธ์ 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 3 ครั้ง (วันที่ 1-3/7-8/17-18 ก.พ. 65)
เดือนมีนาคม 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 2 ครั้ง (วันที่ 17-18/31 มี.ค. 65)
เดือนเมษายน 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 1 ครั้ง (วันที่ 1-2 เม.ย. 65)
เดือนพฤษภาคม 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 3 ครั้ง (วันที่ 22/26/31 พ.ค. 65)
เดือนมิถุนายน 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 2 ครั้ง (วันที่ 7-8/11-12 มิ.ย. 65)
เดือนกรกฎาคม 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 3 ครั้ง (วันที่ 1-2/10-11/15-16 ก.ค. 65)
เดือนสิงหาคม 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 1 ครั้ง (วันที่ 25 ส.ค. 65)
เดือนกันยายน 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 3 ครั้ง (วันที่ 1-3/12/30 ก.ย. 65)
เดือนตุลาคม 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 2 ครั้ง (วันที่ 3/5-6 ต.ค. 65)
เดือนพฤศจิกายน 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 1 ครั้ง (วันที่ 19-21 พ.ย. 65)
เดือนธันวาคม 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 1 ครั้ง (วันที่ 20-21 ธ.ค. 65) 

ธนาคารกรุงไทย (KTB) “ระบบล่ม ทั้งหมด 13 ครั้ง” คนมีส่วนร่วมกว่า 625,094 Engagement
โดย #ที่ได้รับ Engagement สูงที่สุดคือ #กรุงไทยล่ม (43,646 Engagement)

แต่สำหรับธนาคารกรุงไทยที่เป็นผู้ให้บริการแอพฯ เป๋าตัง และโครงการคนละครึ่งเฟส5 ก็พบกับผลกระทบจากแอพล่ม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพูดถึงธนาคารเช่นกันอย่าง #เป๋าตังล่ม #คนละครึ่งเฟส5

บางส่วนของโพสต์จาก #กรุงไทยล่ม ที่คนพูดถึง จากช่องทาง Facebook

เดือนกุมภาพันธ์ 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 2 ครั้ง (วันที่ 1-3/7-8 ก.พ. 65)
เดือนเมษายน 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 1 ครั้ง (วันที่ 19-21 เม.ย. 65)
เดือนพฤษภาคม 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 2 ครั้ง (วันที่ 10-11/16-17 พ.ค. 65)
เดือนมิถุนายน 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 1 ครั้ง (วันที่ 16-17 มิ.ย. 65)
เดือนกรกฎาคม 2565 – แอปเป๋าตังระบบล่ม 1 ครั้ง (วันที่ 16-17 ก.ค. 65)
เดือนสิงหาคม 2565 – แอปเป๋าตังระบบล่ม 1 ครั้ง (วันที่ 19-20 ส.ค. 65)
เดือนสิงหาคม 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 1 ครั้ง (วันที่ 24-25 ส.ค. 65)
เดือนกันยายน 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 3 ครั้ง (วันที่ 16-17 ก.ย. 65)
เดือนตุลาคม 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 2 ครั้ง (วันที่ 20-23/25-28 ต.ค. 65)
เดือนพฤศจิกายน 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 1 ครั้ง (วันที่ 16-17 พ.ย. 65) 

ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB) “ระบบล่ม ทั้งหมด 11 ครั้ง” คนมีส่วนร่วมกว่า 424,723 Engagement
โดย #ที่ได้รับ Engagement สูงที่สุดคือ #ttbล่ม (161,168 Engagement)

บางส่วนของโพสต์จาก #ttbล่ม ที่คนพูดถึง จากช่องทาง Facebook

เดือนพฤษภาคม 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 1 ครั้ง (วันที่ 15 พ.ค. 65)
เดือนมิถุนายน 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 5 ครั้ง (วันที่ 1-2/5-6/20-21/27-28/30 มิ.ย. 65)
เดือนสิงหาคม 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 3 ครั้ง (วันที่ 22-23/26-27/31 ส.ค. 65)
เดือนกันยายน 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 1 ครั้ง (วันที่ 2-5 ก.ย. 65)
เดือนตุลาคม 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 1 ครั้ง (วันที่ 1 ต.ค. 65) 

ธนาคารกสิกรไทย (KBank) “ระบบล่มและมีปัญหาการใช้งานแอพ รวมทั้งหมด 10 ครั้ง” คนมีส่วนร่วมกว่า 48,160 Engagement
โดย #ที่ได้รับ Engagement สูงที่สุดคือ #กสิกรล่ม (1,245 Engagement)

 

บางส่วนของโพสต์จาก #กสิกรล่ม ที่คนพูดถึง จากช่องทาง Facebook

เดือนมกราคม 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 3 ครั้ง (วันที่ 5-6/18-19/30-31 ม.ค. 65)
เดือนกุมภาพันธ์ 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 1 ครั้ง (วันที่ 1-3 ก.พ. 65)
เดือนกรกฎาคม 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 1 ครั้ง (วันที่ 7-8 ก.ค. 65)
เดือนสิงหาคม 2565 – ปัญหาการใช้งาน KPLUS Shop 1 ครั้ง (วันที่ 5 ส.ค. 65)
เดือนสิงหาคม 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 1 ครั้ง (วันที่ 6-7 ส.ค. 65)
เดือนตุลาคม 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 1 ครั้ง (วันที่ 1-2 ต.ค. 65)
เดือนธันวาคม 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 1 ครั้ง (วันที่ 5-6 ธ.ค. 65)
เดือนธันวาคม 2565 – ปัญหาการใช้งาน KPLUS 1 ครั้ง (วันที่ 21-25 ธ.ค. 65) 

ธนาคารกรุงเทพ (BBL) “ระบบล่ม ทั้งหมด 5 ครั้ง” คนมีส่วนร่วมกว่า 371,330 Engagement
โดย #ที่ได้รับ Engagement สูงที่สุดคือ #กรุงเทพล่ม (187,165 Engagement)

บางส่วนของโพสต์จาก #กรุงเทพล่ม ที่คนพูดถึง จากช่องทาง Facebook

เดือนกุมภาพันธ์ 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 1 ครั้ง (วันที่ 1-3 ก.พ. 65)
เดือนพฤษภาคม 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 1 ครั้ง (วันที่ 31 พ.ค. 65)
เดือนมิถุนายน 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 2 ครั้ง (วันที่ 16-17/30 มิ.ย. 65)
เดือนธันวาคม 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 1 ครั้ง (วันที่ 13-14 ธ.ค. 65) 

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) “ระบบล่ม ทั้งหมด 2 ครั้ง” คนมีส่วนร่วมกว่า 8,149 Engagement
โดย #ที่ได้รับ Engagement สูงที่สุดคือ #กรุงศรีล่ม (1,280 Engagement)

 

บางส่วนของโพสต์จาก #กรุงศรีล่ม ที่คนพูดถึง จากช่องทาง Twitter

เดือนกุมภาพันธ์ 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 1 ครั้ง (วันที่ 28 ก.พ. 65)
เดือนสิงหาคม 2565 – ระบบล่มทั้งหมด 1 ครั้ง (วันที่ 1-2 ส.ค. 65)

ซึ่งปัจจุบันแต่ละธนาคารก็ได้เร่งทำการปรับปรุงระบบ เพื่อให้ผู้บริโภคกลับมาใช้งานได้ตามปกติ โดยที่ทุกธุรกรรมจะได้รับการดูแลและดำเนินการอย่างถูกต้องเรียบร้อย

แน่นอนว่าจากแนวโน้มการใช้งาน Mobile Banking ที่มีการใช้งานสูงขึ้นเรื่อยๆทุกปี ทำให้แต่ละธนาคารต้องวางแผนในการพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพราะนอกจากความได้เปรียบทางการแข่งขันกับคู่แข่งแล้ว ยังมีสิ่งสำคัญยิ่งกว่า นั่นคือ การสร้างความพึงพอใจต่อลูกค้า จนเกิดความประทับใจและเป็นการบอกต่อ

จากเหตุการณ์นี้ เห็นได้ชัดเลยว่า เสียงจากผู้บริโภค หรือ Customer Voice แม้จะได้รับการแก้ปัญหาเรียบร้อยแล้ว แต่ความคิดเห็นในเชิงลบยังคงอยู่บนออนไลน์ต่อไป ซึ่งแน่นอนว่าความคิดเห็นเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ เพราะในยุคนี้เสียงเล็กๆจากคนเพียงไม่กี่คน หากมีการถูกโพสต์บนช่องทางออนไลน์ ก็มีโอกาสที่จะส่งผลกระทบต่อแบรนด์เป็นวงกว้างในเวลาอันรวดเร็ว

ดังนั้นการจัดการปัญหาได้ทันท่วงที และการเตรียมความพร้อมด้าน Crisis Management ยิ่งรู้และแก้ปัญหาได้รวดเร็วเท่าไร ยิ่งส่งผลดีต่อแบรนด์มากขึ้นเท่านั้น อย่างเครื่องมือ DOM นอกจากวิเคราะห์เสียงของผู้ใช้บริการบนโลกออนไลน์จำนวนมหาศาลได้แล้ว ยังสามารถรวบรวมข้อมูลสำคัญที่ช่วยแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด พร้อมทิศทางการถูกพูดถึงที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อแบรนด์ได้อย่างรวดเร็ว เพราะสำหรับโลกออนไลน์ เวลาเพียงแค่ 1 นาที อาจสร้างข้อมูลที่ส่งผลกระทบต่อแบรนด์มากมายมหาศาล


อยากให้ DOM ช่วยเก็บสถิติเรื่องไหนอีก พิมพ์บอกได้เลย 👍
สนใจทดลองใช้ DOM หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ https://www.insightera.co.th/dom/


 ✓ The right insight at your fingertips.

—————

“InsightEra” ผู้ให้บริการ MarTech แบบครบวงจร

สนใจหรือสอบถามเพิ่มเติม
https://www.insightera.co.th/contact-us/
Email : [email protected]