SHARES:
นับถอยหลังสู่ “เลือกตั้งทั่วไป” ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคน 2566 

หลายพรรคการเมืองหาเสียงกันด้วยนโยบายต่างๆ แบบไม่มีใครยอมใคร ซึ่งมีทั้งนโยบายใหม่และนโยบายที่ไม่เคยเป็นจุดขายมาก่อน 

แน่นอนว่านโยบายที่ออกมาล้วนมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะด้านเศรษฐกิจ สวัสดิการ ค่าครองชีพประชาชนทั่วไป หรือกระทั่งการยกเลิกเกณฑ์ทหาร ที่ทางพรรคสามารถทำตามนโยบายได้จริง หรืออาจเป็นเพียงแค่การขายฝัน

วันนี้อินไซท์เอราขอพาทุกท่านไปเจาะลึกว่านโยบายของแต่ละพรรคถูกพูดถึงบนโลกออนไลน์อย่างไรบ้าง?

จากผลสำรวจล่าสุด โดยการเก็บข้อมูลผ่านเครื่องมือ DOM – Social Listening & Social Analytics Tool (https://www.insightera.co.th/dom/
👉 โดยเริ่มเก็บสถิติที่เป็นข้อมูลล่าสุด ระยะเวลาหนึ่งเดือน ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม – 20 เมษายน 2566
ทั้งนี้เครื่องมือ DOM ได้รวบรวมข้อมูลที่ถูกพูดถึง โดยวัดจาก Keyword ที่เกี่ยวข้องกับการ “เลือกตั้ง66” และแบ่งกลุ่ม Category ตามพรรคการเมือง โดยผลลัพธ์การพูดถึงมีมากกว่า 4,716,495 Engagement

สำหรับผลลัพธ์ที่ถูกพูดถึงโดยแบ่งตามพรรค ในส่วนของการมีส่วนร่วม (Engagement) บน Social Media มากที่สุด ได้แก่
พรรคก้าวไกล 1,946,031 Engagement 
พรรคเพื่อไทย 941,931Engagement 
พรรครวมไทยสร้างชาติ 256,807 Engagement 
พรรคภูมิใจไทย 196,984 Engagement 
พรรคไทยสร้างไทย 188,911 Engagement 
พรรคพลังประชารัฐ 176,021 Engagement 
พรรคประชาธิปัตย์ 104,094 Engagement 
พรรคเสรีรวมไทย 37,554 Engagement
พรรคชาติพัฒนากล้า 19,712 Engagement

อยากให้ DOM ช่วยเก็บสถิติเรื่องไหนอีก พิมพ์บอกได้เลย 👍
สนใจทดลองใช้ DOM หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ 
https://www.insightera.co.th/dom/
ช่องทางที่มากที่สุดคือ Twitter – 169,441 Mention และ 2,697,593 Engagement
รองลงมาคือ Facebook – 1,925,473 Mention และ Engagement
และจากช่องทางอื่นๆรวมกันกว่า 93,429 Engagement

จากตารางด้านบน เครื่องมือ DOM ได้สรุปผลลัพธ์ข้อมูลในส่วน การพูดถึง (Mention) และการมีส่วนร่วม (Engagement) มาจัดในรูปแบบกราฟ
จากกราฟจะเห็นได้ว่า “พรรคก้าวไกล” ได้รับความสนใจและการมีส่วนร่วม(Engagement) จากชาวโซเชียลมากที่สุด แต่มีการอ้างอิงหรือถูกพูดถึง(Mention) น้อยกว่า “พรรคเพื่อไทย” 

ซึ่งจากกราฟผลลัพธ์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าในส่วนของการมีส่วนร่วม(Engagement) และการถูกพูดถึง(Mention) ทั้งสองพรรคนี้ถือว่าได้รับความสนใจสูงกว่าพรรคอื่นๆ 

มาในฝั่งของ Word Cloud การจับกลุ่มคำ ผ่านเครื่องมือ DOM
พบว่ามีกลุ่มคำที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งที่ถูกพูดถึงหลากหลายคำ นอกจากกลุ่มคำที่ตรงตัวอย่าง ‘เลือกตั้ง66’ รองมาคือ ‘นโยบาย’ ซึ่งนโยบายที่ชาวโซเชียลให้ความสนใจ มีการพูดถึงมาที่สุดคือ ‘การเงินและการเกณฑ์ทหาร’ และสำหรับพรรคการเมืองที่มีการถูกพูดถึงจำนวนมากจากการจับกลุ่มคำได้แก่ ‘พรรคก้าวไกล’

สำหรับสื่อที่ได้รับความสนใจมากที่สุดกับเหตุการณ์ ‘เลือกตั้ง66’
อันดับที่ 1 tanawatofficial จากช่องทาง Twitter โดยได้รับความสนใจรวมจากทุกโพสต์มากกว่า 342,229 Engagement
อันดับที่ 2 เรื่องเล่าเช้านี้ จากช่องทาง Facebook โดยได้รับความสนใจรวมจากทุกโพสต์มากกว่า 166,651 Engagement
อันดับที่ 3 MFPThailand จากช่องทาง Twitter โดยได้รับความสนใจรวมจากทุกโพสต์มากกว่า 160,088 Engagement

ในส่วนของนโยบาย ที่มีการสื่อสารผ่านช่องทางโซเชียล จะเห็นว่านโยบายที่ได้รับ Engagement มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ 
1.นโยบายเศรษฐกิจ คิดเป็น 28.95% จากข้อมูลทั้งหมดที่เราเก็บมาได้ ซึ่งประเด็นที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือ การแจกเงินหรือเติมเงิน คิดเป็น 32.35% (1,254 mentions) จากประเด็นทั้งหมด โดยพรรคที่ได้รับการพูดถึงในเรื่องนี้มากที่สุด คือ พรรคเพื่อไทย คิดเป็น 53.72%
2.นโยบายทางทหาร คิดเป็น 21.15% จากข้อมูลทั้งหมดที่เราเก็บมาได้ ซึ่งประเด็นที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือ การยกเลิกทหารเกณฑ์ คิดเป็น 55.68% (284 mentions) จากประเด็นทั้งหมด โดยพรรคที่ได้รับการพูดถึงในเรื่องนี้มากที่สุด คือ พรรคก้าวไกล คิดเป็น 77.51%
3.นโยบายสวัสดิการ คิดเป็น 10.54% จากข้อมูลทั้งหมดที่เราเก็บมาได้ ซึ่งประเด็นที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือ รถเมล์อนาคต ซึ่งเป็นนโยบายของพรรคก้าวไกล คิดเป็น 26.88% (27 mentions) จากประเด็นทั้งหมด

นอกจากเรื่องของนโยบายก็ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่ชาวโซเชียลให้ความสนใจจากข้อมูลที่ DOM เก็บมาได้ ซึ่งขอยกตัวอย่างมา 3 ประเด็นดังนี้ค่ะ
ปัญหาฝุ่น pm 2.5 คิดเป็น 3.78% ซึ่งส่วนมากมาจากช่องทาง Twitter มากถึง 64.11%
ปฏิรูปกองทัพ คิดเป็น 3.49% ซึ่งส่วนมากมาจากช่องทาง Facebook มากถึง 85.16%
สมรสเท่าเทียม คิดเป็น 3.06% ซึ่งส่วนมากมาจากช่องทาง Twitter มากถึง 95.76%

จากการสำรวจข้อมูลโดย DOM พบว่า ‘เลือกตั้ง66’ มีการพูดถึงหลากหลายหัวข้อ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายจากหลากหลายพรรค การ Call out ของเหล่านักแสดง หรือการถกกันในประเด็นต่างๆ
ทางเราได้แบ่งนโยบายที่น่าสนใจออกมา โดยจัดแบ่งผ่าน Category ของเครื่องมือ DOM – Social Listening & Social Analytics Tool มาดูกันค่ะว่าจะมีนโยบายไหนหรือพรรคไหนที่น่าสนใจในช่วงนี้บ้าง

ซึ่งโพสต์ที่ได้รับความสนใจมาก เป็นโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายเกณฑ์ทหารของพรรคก้าวไกล
โพสต์จากช่องทาง Facebook เรื่องเล่าเช้านี้ที่ คนมีส่วนร่วมสูงถึง 86,383 Engagement 

กรรมกรข่าว เปิดอกคุย “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” แคนดิเดตนายกฯพรรคก้าวไกล ยันได้เป็นรัฐบาลเดินหน้าปฏิรูปกองทัพลดงบประมาณ รีดไขมันที่ไม่จำเป็น ยกเลิกเกณฑ์ทหารไม่เท่ากับยกเลิกทหาร อยากเห็นความมั่นคงต้องลงทุนเทคโนโลยีของกองทัพมากกว่าจำนวนคนที่มีไว้ตัดหญ้า #เรื่องเล่าเช้านี้ #ข่าวช่อง3 #เลือกตั้ง66เปลี่ยนไปหรือไปต่อ #กรรมกรข่าว

ในส่วนของพรรคเพื่อไทยที่ได้รับการพูดถึงมากเช่นกัน โพสต์ที่รับความสนใจมาก เป็นโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายแจกเงินดิจิตทัล ที่เป็นนโยบายหลัก
ซึ่งโพสต์จากช่องทาง Facebook Khaosod – ข่าวสด ที่ คนมีส่วนร่วมสูงถึง 81,567 Engagement

นโยบายเพื่อไทย แจกเงินดิจิทัลคนละ 1 หมื่น ใช้งบ 5 แสนล้าน เศรษฐาพูดชัดๆ เอาเงินจากไหน

นอกจากนี้ยังมีนโยบายด้านเศรษฐกิจ เรื่องประเด็นค่าแรงขั้นต่ำที่ได้รับความสนใจมาก เป็นโพสต์จากช่องทาง Twitter Petae_Lynch คนมีส่วนร่วมสูงถึง 78,681 Engagement

ใครที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 600 เงินเดือนปริญญาตรี 25,000 คุณสามารถเลือกรับเงินเดือนเรทเดิมได้โดยตอนเซนต์สัญญาเข้าทำงานให้แจ้ง HR ว่ามีความประสงค์ขอรับเงินเดือนเรทเดิม ค่าแรงขั้นต่ำ 300 ป.ตรี 15,000 เพราะไม่เห็นด้วยกับนโยบายพรรคเพื่อไทย

และอีกประเด็นที่น่าสนใจเช่นกัน เป็นการพูดถึงนโยบายสมรสเท่าเทียม โดยไม่มีการกล่าวถึงพรรคการเมืองใด ซึ่งเป็นโพสต์จาก Twitter milephakphum นักแสดง BL ชื่อดัง จากเรื่อง KinnPorsche The Series ทำให้โพสต์นี้คนมีส่วนร่วมสูงถึง 71,187 Engagement

,,, ความเป็นธรรมชาติ อิสระทางการตัดสินใจ อิสระทางการกระทำ และ ความเท่าเทียม ควรเกิดได้(นาน)แล้ว เง้อ ,,, . . #สมรสเท่าเทียม

ในส่วนของ Sentiment หรือ การวิเคราะห์อารมณ์และความรู้สึก
เนื่องจากประเด็นทางการเมือง ส่วนของผลลัพธ์อาจมีประเด็นที่อ่อนไหว หรืออาจส่งผลกระทบต่อทางผู้สมัครพรรคต่างๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดความขัดแย้งได้ ทางอินไซท์เอราจึงขอสรุปเป็นแนวโน้มโดยรวมจาก Keyword ทั้งหมด โดยสรุปออกมาเป็นผลลัพธ์ดังนี้ค่ะ

จากข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ เครื่องมือ DOM ระบุผลลัพธ์ที่ได้จากกระแส ‘เลือกตั้ง66’ เป็นลักษณะการพูดถึง

เชิงทั่วไปไม่เจาะจง (Neutral) ซึ่งเป็นสัดส่วนมากถึง 60.6% หรือกว่า 2,858,161 Engagement
เชิงบวก (Positive) ซึ่งเป็นสัดส่วนมากถึง 25.26% หรือ 1,191,316 Engagement
เชิงลบ (Negative) ซึ่งเป็นสัดส่วนเพียง 14.14% หรือ 667,018 Engagement 

จากข้อมูลทั้งหมดที่สำรวจโดย DOM แสดงให้เห็นว่า กระแสสังคมที่พูดถึงแต่ละนโยบายและแต่ละพรรคการเมือง ว่ามีแนวโน้มไปในทิศทางทางไหน 
ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับความสามารถในการสื่อสารของผู้สมัครแต่ละพรรค ว่าจะทำให้ประชาชนเข้าใจในนโยบายและสนับสนุนนโยบายของทางพรรคได้มากน้อยเพียงใด


เวลานี้ทุกท่านยังพอมีเวลาในการศึกษานโยบายของแต่ละพรรค เพื่อทำความเข้าใจและเลือกพรรคการเมืองที่ตรงใจตัวเองที่สุด 14 พฤษภาคมนี้ วันสำคัญที่ชาวไทยทุกคนพร้อมใช้สิทธิ ใช้เสียง เพื่อเปลี่ยนแปลงอนาคตของประเทศไทย #เพราะการเมืองเป็นเรื่องของทุกคน

 

อยากให้ DOM ช่วยเก็บสถิติเรื่องไหนอีก พิมพ์บอกได้เลย 👍
สนใจทดลองใช้ DOM หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ 
https://www.insightera.co.th/dom/

 ✓ The right insight at your fingertips.

—————

“InsightEra” ผู้ให้บริการ MarTech แบบครบวงจร

สนใจหรือสอบถามเพิ่มเติม
https://www.insightera.co.th/contact-us/
Email : [email protected]